แผนที่องค์ความรู้ การบริหารจัดการทรัพยากร “น้ำ” แบบบูรณาการ

ปัญหาเรื่อง “น้ำ” ของประเทศไทยที่กำลังทวีความรุนแรงมากขึ้น คงมิอาจเริ่มต้นแก้ไขได้ หากปราศจากการรวบรวมข้อมูล
ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญอันจะนำไปสู่“กระบวนการวางแผนที่เป็นเอกภาพ และมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน”

ในอดีต หน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ล้วนมีข้อมูลล้ำค่าอยู่ในมือ แต่ไม่ได้นำมาเชื่อมโยงต่อกันเป็นภาพใหญ่ เพื่อช่วยให้ทุกฝ่ายเห็นภาพรวมและช่วยกันจัดการทรัพยากรน้ำได้ คุณกิจจา จำนงค์อาษา หัวเรือใหญ่ของกลุ่มบริษัทบี ปิโตรไทย จึงได้เป็นส่วนหนึ่งในการร่วมแก้ไขปัญหา และมีบทบาทในการจัดทำแผนที่องค์ความรู้ “Mapping Knowledge เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการ” ในฐานะ ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการแก้ไขปัญหาน้ำท่วม และการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ สภาผู้แทนราษฎร 2554 ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นครั้งสำคัญในการแก้ไขปัญหาวิกฤติการณ์น้ำของประเทศไทยอย่างเป็นระบบ

รวมข้อมูลทั้งประเทศให้เป็นหนึ่ง

การจัดทำ Mapping Knowledge เป็นจุดแข็งของกลุ่มบริษัทบี ปิโตรไทย ในการรวบรวมข้อมูลและความรู้จากผู้ที่เกี่ยวข้องด้านการบริหารทรัพยากรน้ำกว่า 29 หน่วยงานแล้วสร้างเป็นโมเดลขึ้นมา เพื่อสนับสนุนการบริหารทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการ เมื่อทุกหน่วยงานมีความเข้าใจบนพื้นฐานเดียวกัน และมองเห็นภาพรวมของปัญหาชัดเจนขึ้น จึงสามารถจัดลำดับความสำคัญของข้อมูล และนำไปสู่การวางขอบเขตของการบริหารจัดการน้ำได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์ต่อสังคมอย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ จนท้ายน้ำ

Mapping Knowledge

“รายงานการศึกษาการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและการจัดการทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2554”
ได้ขยายผล สู่การจัดทำโมเดลการจราจรน้ำที่เป็นประโยชน์อีกมาก และเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้เกิด พ.ร.บ. ทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา ส่งผลดีต่อประชาชนผู้ใช้น้ำทั่ว ทั้งประเทศ ไม่ว่าจะเป็นภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การคมนาคม การท่องเที่ยว ตลอดจนภาคครัวเรือน

นายกิจจา จำนงค์อาษา

ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาการศึกษาการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ สภาผู้แทนราษกร 2554

นายวิตต์ ภัทรยานนท์

คณะทำงานเพื่อดำเนินการรวบรวมข้อมูลและข้อสรุปในการจัดทำรายงาน คณะอนุกรรมาธิการวิสามัญจัดทำรายงานการศึกษาการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
สภาผู้แทนราษฏร 2554

เสนอแนะ ตรวจทานและเพิ่มเติมให้มีความถูกต้องครบถ้วนสมบูรณ์โดย สถาบันสารสนเทศ ทรัพยากรน้ำ และการเกษตร (องค์การมหาชน) กรมทรัพยากรน้ำ กรมชลประทาน

ข้อมูลแหล่งน้ำของประเทศทั้ง 25 ลุ่มน้ำ และเขื่อนขนาดใหญ่ 36 แห่ง

โมเดลการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ เพื่อลดความเสี่ยงภัยน้ำแล้งและน้ำท่วม เช่น เพิ่มน้ำท่าลดน้ำหลาก และเร่งผันน้ำลงทะเล

โมเดลจราจรน้ำของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ระบุศักยภาพการป้องกันน้ำท่วม เพื่อวางแผนเพิ่มปริมาณกักเก็บน้ำ การเพิ่ม / ลดพื้นที่การเกษตรเขตชลประทาน และพื้นที่เกษตรน้ำฝนของลุ่มน้ำต่าง ๆ ให้เหมาะสมตามช่วงฤดูกาล ฯลฯ

หมายเหตุ : ภาพประกอบที่ 1 – 3 เกิดจากการรวบรวมข้อมูลและความรู้จากผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรน้ำและจัดทำเป็นแผนที่องค์ความรู้ (Mapping Knowledge)
เพื่อสนับสนุนการบริหารทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการ

มุ่งมั่นสู่ความ ‘เป็นเลิศ’

เรายืนยันที่จะรักษาคำมั่นสัญญาในการทำงาน ให้ออกมามีคุณภาพด้วยมาตรฐานความพึงพอใจระดับสากล
เพื่อให้ลูกค้าและคู่ค้าของเราได้รับรู้ถึง มิตรภาพและความเป็นคู่คิดทางธุรกิจที่มีคุณค่า ที่พวกเราตั้งใจส่งมอบให้