เตาเผาสำหรับกระบวนการแตกสลายโมเลกุลด้วยไอน้ำ (Steam Cracking Furnace) เป็นหน่วยปฏิบัติการที่มีความสำคัญมากในการผลิตโอเลฟินส์ ผู้ผลิตท่อรับความร้อนด้วยการแผ่รังสี (Radiant Coil) ในเตาเผาแตกโมเลกุลด้วยความร้อน (Cracking Furnace) ได้เพิ่มชั้นของวัสดุใหม่คือ Aluminium Oxide layer เข้าไปซึ่งจะช่วยต้านทานการสึกกร่อน รวมถึงการออกแบบรูปแบบการไหลแบบหมุนวน (Rotating Flow pattern) ที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการแลกเปลี่ยนความร้อน ได้ 2-5 เท่า ก่อนที่จะต้องกำจัดชั้นคาร์บอนที่เกาะผิวท่อ
ปัจจุบันการสร้างผลผลิตสูงสุด มักทำโดยความร่วมมือกันระหว่างโรงงานปิโตรเคมีกับผู้ผลิตอุปกรณ์ ที่จะมีการวิเคราะห์และทำการจำลองกระบวนการโดยใช้ โปรแกรมจำลองการสร้างระบบผลิตเสมือนจริงเพื่อช่วยในการออกแบบและตรวจสอบระบบอัติโนมัติ (Process Simulation software), การวิเคราะห์ทางสถิติ (Statistical Analysis) , ระบบที่ใช้ศึกษาในงานหมุน (Computational Fluid Dynamics – CFD) และห้องทดลองทางวัสดุศาสตร์ เพื่อผลลัพธ์สูงสุดของการผลิต
เปรียบเทียบท่อแบบมี Pattern และ ท่อเปลือย (Bare tube) ผลที่ได้คือ
• เพิ่มระยะเวลาในการใช้งานเนื่องจากอุณหภูมิของท่อ (Tube Metal Temperature - TMT) และการเกิดโค้ก (Coke) ต่ำลง
• เกิด โอเลฟินส์ มากขึ้น 1%
• ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น หรือ อัตราการป้อน ต่อ ศักยภาพในการแปลงสารสูงขึ้น (Feed rate/conversion potential) ทำให้ประหยัดพลังงาน หรือ เพิ่มอัตราการป้อนได้ 10% หรือการแปลงสารเพิ่มขึ้น 2% (เทียบจากอัตราการโค้กที่เท่ากัน)
ข้อมูลอ้างอิง : Webinar ‘Net Zero Emission Technology 2021’ 18 พ.ย. ถึง 3 ธ.ค. 2564